สระอะ

สระอะ
          สระอะ  มีวิธีใช้  ๔  อย่าง  คือ  :-
ก. คงรูป  คือต้องประวิสรรชนีย์  (-ะ)  ข้างหลังพยางค์ทุกพยางค์ที่ออกเสียง  อะ  ในกรณีดังนี้ :-
๑. เป็นพยางค์ของคำไทยแท้  เช่น  :- กะบะ  กะทะ  มะระ  ปะทะ  ฯลฯ  มีข้อยกเว้นบ้างซึ่งจะกล่าวในข้อ  ข.
๒. เป็นพยางค์สุดท้ายของคำบาลี  สันสกฤต  และภาษาอื่นๆ เช่น  :-  สรณะ  คณะ  อิสระ  อาสนะ  เอเดนเบอระ  ฯลฯ
๓. เป็นพยางค์ของคำในภาษาอื่นนอกจากภาษาบาลีสันสกฤต  และภาษาตระกูลอินเดีย  ยุโรป  เช่น :-  บะหมี่  แป๊ะซะ  ตือบะ  ซากุระ  โอสุกะ  กะจับปี่  มะเดหวี    มะงุมมะงาหลา  มะตาหะรี  อะแซหวุ่นกี้     โปมะยุง่วน  ฯลฯ
๔. เป็นพยางค์หน้าของคำ  ซึ่งออกเสียง  กระ  ตระ  ประ  พระ  ไม่ว่าภาษาใดๆ  เช่น  :-  กระติก  กระถาง  กระแหม่ว  กระจาย  กระฎุมพี  กระษาปณ์  กระสูทธิ์  กระฎี  ตระกูล  ตระกอง  ตระคัร  ตระ-ลาการ  ประกาศ  ประณีต  ประสิทธิ์  ประสาท  พระหารัณย์  พระหาวัน  พระหาสุข  ฯลฯ

หมายเหตุ  :  พยางค์เดิมที่เป็น  “ ชะ ”  ถ้าเพิ่มตัว  “ ร ”  เข้าข้างหลัง  ให้ประวิสรรชนีย์เฉพาะที่ตัว  “ ร ”  เท่านั้น  เช่น  :-

            ชระง่อน เดิมเป็น             ชะง่อน
            ชระมด                  ”                   ชะมด
            ชระลอ                  ”                   ชะลอ
            ชระแลง                 ”                   ชะแลง
            ชระลูด                  ”                   ชะลูด

ข. ลดรูป  คือไม่ต้องประวิสรรชนีย์  (-ะ)  ในพยางค์ที่ออกเสียง  อะ  แต่ต้องออกเสียงเป็น  อะ  เหมือนมีวิสรรชนีย์กำกับอยู่ด้วย  ในกรณีต่อไปนี้ :-

๑. เป็นพยางค์ที่เป็นอักษรนำ  เช่น  :-  นม  ยัน  ยะ  ลอง  นอม  นวช  นวก  รั่ง  รั่น  มาน  มิง  ฯลฯ  ทั้งนี้เพราะตัวนำกับตัวตามเป็นตัวเดียวกัน  เพราะเป็นอักษรประสม
๒. เป็นคำยกเว้น  ซึ่งใช้เขียนไม่มีประวิสรรชนีย์มาแต่โบราณและรับรองกันว่าถูกต้อง  ไดแก่คำ :-

ณ         ที่แปลว่า            ใน, ที่  เช่น :-    ที่นั้น
ท              ”                   คน, ท่าน, ผู้  เช่น :-  แกล้ว  =  คนแกล้ว,  นาย  =  คนผู้เป็นนาย
ธ              ”                   ท่าน, เธอ  เช่น :-    ประสงค์ใด...
พ              ”                   พ่อ, พระ  เช่น :-  นักงาน   พ่อคนงาน, นาย =  พ่อนาย
พณ          ”                   พ่อเหนือ,  พระเหนือ  เช่น :-  พณหัว   พ่อเหนือหัว,  พณหัวเจ้า   พ่อเหนือหัวเจ้า, พณหัวเจ้าท่าน  =  พ่อเหนือหัวเจ้าท่าน  ทั้ง  ๓  คำนั้น  ใช้เขียนย่อเป็นอย่างเดียวกันว่า  ฯพณฯ  จะอ่านว่า  พณหัว,  พณหัวเจ้า  หรือ  พณหัวเจ้าท่าน  ก็ได้  แต่ปัจจุบันนี้นิยมให้อ่านว่า  พะนะท่าน  (บัญญัติให้อ่านเช่นนี้หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว พ.ศ. ๒๔๗๕)
๓. เป็นตัวสะกดในคำไทยบางคำซึ่งนิยมออกเสียงตัวสะกดเป็นพิเศษ  เช่น :-  สปรก  จัจั่น  ตั๊แตน  สัยอก  สัหงก  สัดน  อหม่าน ฯลฯ
๔. เป็นพยางค์ที่แผลงมาจากคำเดิมซึ่งไม่มีวิสรรชนีย์หรือไม่ประวิสรรชนีย์  เช่น :- 

            ชรไม                 เดิมเป็น             ชไม
            ชรโลง                   ”                   ชโลง
            ชรอ่ำ                     ”                   ชอ่ำ
            ชรอื้อ                     ”                   ชอื้อ
            ชรอุ่ม                    ”                  ชอุ่ม

๕. เป็นพยางค์ที่ออกเสียงเบา  เช่น :-  ขโมย, ชนวน, สไบ ฯลฯ
๖. เป็นพยางค์ที่มิใช่อยู่สุดท้ายของคำบาลีสันสกฤตและคำในภาษาตระกูลอินเดีย  ยุโรป  เช่น :-  ติ  ริยา  อมรินทร์  ราภรณ์  อคติ  ตัญญู  ราวาส  ฤษฏิ์  ปริง  ปัน  เมริกา  เวนตี้  ฯลฯ

หมายเหตุ  :  พยางค์สุดท้ายของคำบาลีและสันสกฤตซึ่งต้องประวิสรรชนีย์  เช่น  :-  อิสระ  คณะ  ฯลฯ  ถ้ามีคำอื่นมาประสมข้างหลังให้เป็นคำเดียวกันเรียกว่าคำสมาส  ในกรณีเช่นนี้ต้องตัดวิสรรชนีย์ออก  เช่น  :- อิสรภาพ  คณบดี  เพราะถือว่าเป็นคำเดียวกัน  และเมื่อเป็นคำเดียวกันตัว    กับ    ก็ไม่ใช่พยางค์สุดท้ายของคำ  จึงไม่ต้องประวิสรรชนีย์  ตามกฎข้อ  ๒  ก.

ค. แปลงรูป  คือแปลงวิสรรชนีย์เป็น
๑. ไม้หันอากาศ  ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น :-  กัน  =   กะ  +  น,  ขัง  =  ขะ  +  ง,  รัก  =  ระ  +  ก,  จัด  =  จะ  +  ด,  นับ  =  นะ  +  ด,  คัม  =  คะ  +  

ไม้หันอากาศ  ก็คือ  วิสรรชนีย์นั่นเอง  เมื่อมีตัวสะกด  จะเขียนไว้ข้างหลังพยัญชนะ  ก็อ่านออกเสียงไม่ตรงกับเสียงที่ต้องการ  จึงเอาวิสรรชนีย์ขึ้นไปเขียนไว้ข้างบนเพื่อให้เห็นว่าเป็นสระอะที่มีตัวสะกด  แต่ลดออกเสียอันหนึ่งคงเหลือไว้แต่อันเดียว  เพื่อสะดวกแก่การเขียนรูปวรรณยุกต์ไว้ข้างบน  เช่น  กัน กั่น กั้น กั๊น กั๋น  ถ้าเขียนวิสรรชนีย์ไว้ทั้งสองอันจะเกะกะรุงรังมาก  อีกประการหนึ่งรูปจะไม่ซ้ำกับ  ไม้หันอากาศและไม้โท ที่อยู่ด้วยกัน เพราะเวลาเขียนหวัดหรือเขียนรูปไม่ชัด รูป –ะ  กับ  อั้น  จะคล้ายกันมาก  การตัดวิสรรชนีย์ให้เหลือไว้แต่รูปเดียว  จึงสะดวกทั้งการเขียนและการอ่าน
๒. อักษรหัน  คือเปลี่ยนวิสรรชนีย์ให้เป็นพยัญชนะตัวเดียวกับตัวสะกด  เช่น :-  กนน  =  กัน, ขงง  =  ขัง,  รกก  =  รัก,  จดด  =  จัด,  นบบ  =  นับ,  คมม  =  คัม,  สรร  =  สัร,  จรร  =  จัร
อักษรหันนี้  โบราณนิยมใช้มาก  และบรรดาพยัญชนะที่ใช้เป็นตัวสะกดได้ย่อมใช้เป็นอักษรหันได้ทุกตัว  แต่บัดนี้นิยมใช้แต่    ตัวเดียวเท่านั้น  เรียกว่า  ร  หัน  เช่น  ธรรมดา,  กรรม,  สรรพ,  สรร,  จรรยา ฯลฯ

หมายเหตุ  :-  ๑.  อักษรหันจะต้องแทนหันอากาศ  ที่เรียกว่าอักษรหันนั้น  ก็เพราะย่อมมาจากอักษรหันอากาศ  คืออักษรที่ทำหน้าที่แทนหันอากาศ
                    ๒.  อักษรหันจะต้องมีตัวเดียว  ไม่ใช่  ๒  ตัว  เช่น :-  สรร    ตัวหน้าเป็นอักษรหันหรือเรียกว่า    หัน  ส่วน    ตัวหลังเป็นตัวสะกด
                    ๓.  อักษรหันจะต้องเป็นอักษรที่มีรูปเช่นเดียวกับตัวสะกดและต้องอยู่หน้าตัวสะกดเสมอ
ง.  ตัดรูปและตัดเสียง  เช่น :-  อนุช  เป็น  นุช,  อดิเรก  เป็น  ดิเรก,  อภิรมย์  เป็น  ภิรมย์,  อเนกอนันต์  เป็น  เนกนันต์  (ออกเสียงเหมือนคำเดิม)  ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น