วิธีใช้สระโดยสรุป




วิธีใช้สระโดยสรุป
        วิธีใช้สระทั้งหมด  เมื่อกล่าวโยสรุปแล้วมีอยู่  ๕  วิธีคือ  :-
        ๑.  คงรูป  คือต้องเขียนรูปให้ปรากฏชัด เช่น :-  กะบะ  กะปิ  ดีนี่  ไปไหน  ทำไม  นานโข
      ๒.  ลดรูป  คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏหรือปรากฏแต่เพียงบางส่วน  แต่ต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น  การลดรูปมี  ๒  อย่าง  คือ :-
            ก.  ลดรูปทั้งหมด  ได้แก่  พยัญชนะ  +  สระโอ  +  ตัวสะกด  (ยกเว้นตัว  ร  )  เช่น :-

        น  +  โอะ  +  ก-สะกด  =  นก.       
        ม  +  โอะ  +  ด-สะกด  =  มด.
      ก  +  ออ  +  ร-สะกด  =  กร.          
        จ  +  ออ  +  ร-สะกด  =  จร.

ข.  ลดรูปบางส่วน  ได้แก่สระที่ลดรูปไม่หมด  เหลือไว้แต่เพยงบางส่วนของรูปเป็ตพอเป็นเครื่องสังเกตให้รู้ว่าไม่ซ้ำกับรูปอื่น เช่น  :-
                ก  +  เออ  +  ย-สะกด  =  เกย  (ลดรูปตัว    เหลือแต่ไม้หน้า)
                ส  +  เอีย  +  ง-สะกด  =  สยง  (ลดไม้หน้ากับพินทุ  อี  เหลือแต่ตัว  )
            ก  +  อัว  +  น-สะกด  =  กวน  (ลดหันอากาศ  เหลือแต่ตัว  )
๓.  แปลงรูป  คือแปลงสระรูปเดิมให้เปลี่ยนเป็นอีกรูปหนึ่งเช่น :-

            ก  +  อะ  +  น-สะกด  =  กัน  (แปลงวิสรรชนีย์เป็นหันอากาศ)
            ก  +  เอะ  +  ง-สะกด  =  เก็ง  (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ตู่คู้)
            ข  +  แอะ  +  ง-สะกด  =  แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ตู่คู้)
            ด  +  เออ +  น-สะกด  =  เดิน (แปลง  อ  เป็น  พินทุอิ)

๔.  ตัดรูป  คือตัวสระ  อะ  ที่เป็นสระหน้าของคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต  และไม่ต้องออกเสียงสระที่ตัดนั้น  (คือตัดทั้งรูปและเสียง) เช่น :- 

นุช-นุช,  ดิเรก-ดิเรก,  ภิปราย-ภิปราย,  ภิรมย์-ภิรมย์,  เนกอนันต์-เนกนันต์

๕.  เติมรูป  คือเพิ่มรูปเข้ามานอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว  ได้แก่สระ  อื  ที่ใช้ในมาตรา  ก  กา  เช่น :-

            ม  +  อื  =  มื  เติม    เป็น  มือ
            ค  +  อื  =  คื  เติม    เป็น  คือ

เหตุที่เติมรูปเพราะในการเขียนรูปสระ  อี  และสระ  อื  ในสมัยโบราณ  ไม่มีตัวพิมพ์ใช้  ต้องใช้เขียนถ้าเขียนตัวบรรจงก็สังเกตง่าย  ไม่มีปัญหา,  แต่ถ้าเขียนหวัดก็ทำให้ฉงนเช่น  มี  กับ  มื  มีความหมายด้วยกันทั้งสอง  ยากแก่การวินิจฉัยว่าควรจะเป็น  มี  หรือ  มือ  แต่ถ้าเติมรูป    ลงไปที่สระ  อื  ก็เข้าใจได้ว่าเป็นสระ  อือ  ,  ส่วนสระ  อี  คงรูปไว้อย่างเดิมก็จะทำให้การอ่านง่ายขึ้น  ถึงแม้จะเขียนสระ  อื  ตกรูป  “ฝนทอง”  ไปหนึ่งอันเป็น  มือ  ก็รู้ได้ว่าเป็นสระ  อื  เพราะมีตัว    กำกับอยู่  จะออกเสียงเป็นสระ  อี  ไม่ได้  การเติมรูปสระจึงมีประโยชน์ดังนี้ 

หมายเหตุ  :-    ๑.  สระบางตัวอาจใช้วิธีลดรูปและแปลงรูปก็ได้เช่น :-
+  เอาะ  =  เกาะ  แล้วลดรูป  ไม้หน้า  กับ  ลากข้าง  และแปลงรูปวิสรรชนีย์เป็น ไม้ไต่คู้  ก็จะกลายรูปเป็น  ก็
๒.  สระที่ประสมกับวิสรรชนีย์บางตัว  เมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้แล้วจะกลับเป็นสระตัวเดิมที่ยังมิได้ประสมกับวิสรรชนีย์เช่น  เอาะ  จะกลับเป็น  ออ  ในเมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้และมีตัวสะกด  ตัวอย่าง  ก  +  เอาะ  =  เกาะ+ก-ตัวสะกด  จะเป็น  ก๊อก  เมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้แล้ว  สระ  เอาะ  ก็จะกลับเป็นสระ  ออ  ตัวเดิมที่ยังมิได้ประสมกับวิสรรชนีย์จึงจะมีรูปเป็น  ก็อก





 ที่มา  :  กำชัย  ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพฯ รวทสาส์น 

6 ความคิดเห็น:

  1. ดีมากๆผุ้ใหญ่ต้องเรียนรุ้เพิ่มใหม่เพื่อสอนลูกๆ

    ตอบลบ
  2. ดีมากๆผุ้ใหญ่ต้องเรียนรุ้เพิ่มใหม่เพื่อสอนลูกๆ

    ตอบลบ
  3. สงสัยคะ อันนี้ อ่านยังไงคะ สยง ไม่เคยเห็นเลยค่ะ ในพจนานุกรม ก็ไม่มี
    ส + เอีย + ง-สะกด = สยง (ลดไม้หน้ากับพินทุ อี เหลือแต่ตัว ย)
    หรืออันนี้กำลังพูดถึงคำสมัยโบราณ


    ตอบลบ
  4. ๒. สระที่ประสมกับวิสรรชนีย์บางตัว
    เมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้แล้วจะกลับเป็นสระตัวเดิมที่ยังมิได้ประสมกับวิสรรชนีย์เช่น เอาะ
    จะกลับเป็น ออ ในเมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้และมีตัวสะกด ตัวอย่าง ก + เอาะ = เกาะ+ก-ตัวสะกด
    จะเป็น ก๊อก เมื่อแปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้แล้ว สระ เอาะ ก็จะกลับเป็นสระ ออ
    ตัวเดิมที่ยังมิได้ประสมกับวิสรรชนีย์จึงจะมีรูปเป็น ก็อก

    ขอสอบถามค่ะว่า ตัวเองเข้าใจถูกต้องหรือไม่ ในข้อ ๒ นี้ เรากำลังพูดถึงสระ เอาะ ใช่ไหมคะ
    คำว่า ก๊อก ที่เขียนไว้ในข้อนี้ หมายถึงเสียงอ่าน ไม่ใช่หมายถึงคำศัพท์ใช่ไหมคะ
    เพราะข้างบนอธิบายว่า "แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้"
    ดังนั้น ถ้าจะบอกว่า ก๊อก เป็นสระเอาะ และจะเขียนคำว่า น้ำ-ก๊อก ก็ต้องเขียนว่า น้ำก็อก
    ดิฉันเข้าใจถูกไหมคะ

    ตอบลบ