สระใอ (ไม้ม้วน)

สระใอ  (ไม้ม้วน)
            การใช้สระใอ  ไม้ม้วน  และสระไอไม้มลาย  ในสมัยโบราณไม่สู้จะพิถีพิถันนัก  ท่านเพ่งเล็งถึงเสียงามกกว่ารูป  เพราะฉะนั้น  จึงใช้สลับสับสนกัน  ต่อมาท่านได้วางหลักเกณฑ์ให้ใช้ไม้ม้วนได้เพียง  ๒๐  คำและต้องเป็นคำไทยแท้  ได้แก่คำต่อไปนี้คือ :-

            ใกล้  ใคร  ใคร่  ใจ  ใช่  ใช้  ได้  ใต้  ใน  ใบ
            ใบ้  ใฝ่  ใย  สะใภ้  ใส  ใส่  ใหญ่  ใหม่  ใหล

            ใน  ๒๐ คำนี้  มีอยู่  ๘  คำที่มีเสียงซ้ำกับไม้มลาย  คือ  :  ใจ  ใด  ใต้  ใน  ใย  ใส  ให้  ใหล  มีเสียงซ้ำกับ  ไจ  ได  ไต้  ไน  ไย  ไส  ไห้  ไหล  คำอื่นนอกจากนี้  เช่น  ใคร่ กับ ตะไคร่  ใบ กับ สไบ  จะเรียกว่าซั้นไม่ได้  เพราะเป็นคำพยางค์เดียวกับคำสองพยางค์  ย่อมแสดงความแตกต่างกันอยู่ในตัวแล้ว
            คำทั้ง  ๘  นั้น  แม้จะเสียงพ้องกันในระหว่างไม้ม้วนกับไม้มลาย  แต่ก็มีหลักสังเกตในการใช้โดยอาศัยคำห้อมล้อม  (บริบท)  และความหมายเป็นสำคัญ  ดังจะเทียบเคียงแสดงความหมายให้เห็นความต่างกันดังต่อไปนี้ :-

            คำไม้ม้วน                           เสียงซ้ำ                              คำไม้มลาย
ใจ-จิต  ศูนย์กลาง                                        ”                              ไจ-ส่วนหนึ่งของเข็ดด้ายหรือไหม
ใด-อะไร,  สิ่งไร                                            ”                              ได-มือ
ใต้-ข้างล่าง,  ต่ำ,  ตรงข้ามกับเหนือ                ”                              ไต้-วัตถุใช้สำหรับจุดไฟ  (จุดไต้)
ใน-ข้างใน,  ภายใน,  ตรงข้ามกับนอก             ”                              ไน-เครื่องปั่นฝ้ายหรือไหม
ใย-สิ่งที่เป็นเส้นเล็กๆ ยาวๆ ขาวๆ,                  ”                              ไย-ไฉน,  ทำไม, อะไร
       นวลบาง  ผ่องใส
ใส-สว่าง,  สะอาด,  กระจ่าง                         ”                              ไส-เสือกไป,  ส่งไป
ให้-สละ,  มอบ,  อนุญาต                              ”                              ไห้-ร้อง  (ไห้)
ใหล-หลง                                                    ”                              ไหล-เลื่อนไป,  เคลื่อนไป

            เพื่อสะดวกแก่การจำ  ได้นำคำที่ใช้ไม้ม้วนทั้ง  ๒๐  มาร้อยกรองเป็นคำประพันธ์ไว้  ๓  แบบดังต่อไปนี้ :-

                        ๑.  หลงใหลมิใช่ใบ้                               ใฝ่ใจ
ใครใคร่ในน้ำใส                                                            โปรดใช้
             ผู้ใดใหญ่ใกล้ใบ้                                                        บัวต่ำ  ใต้แฮ
            ใยใหม่ใส่จานให้                                                         สะใภ้พึงจำ
                        ๒.  ใจใหญ่ใฝ่ในใต้                               ใช่  ใบ้  ใกล้  ใคร  ใคร่  ใส
            หลงใหลให้สะใภ้                                               ใช้  ใบ  ใหม่  ใส่  ใย ใด
                        ๓.  บ้าใบ้หลงใหลใหญ่                          ให้สะใภ้ใช้น้ำใส
            มิใช่อยู่ใกล้ใคร                                                  ในจิตใจใฝ่แต่ดี
            ผู้ใดใส่เสื้อใหม่                                                  ใยบัวใต้ใบดีปลี
            จะใคร่เรียนเขียนดี                                              ยี่สิบม้วนควรจดจำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น