สระอัว

สระอัว
            สระอัว  มีวิธีใช้ดังนี้ :-
            ๑.  คงรูป  คือไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร  นิยมใช้ในที่ทั่วไป เช่น :-  มัว  กลัว  ผัว  วัว  ตัว  ฯลฯ  ถ้าเขียนคำในภาษาบาลี  หรือสันสกฤต  ให้ออกเสียงเป็น “เอา”  เช่น :-
            สัวหโย               (สวฺหโย)            อ่านว่า   เสาวฺหโย
            อุปัวหยันตา        (อุปวฺหยนฺตา)     อ่านว่า   อุเปาวฺหะยันตา  ฯลฯ
            ๒.  ลดรูป  คือลดไม้หันอากาศ  ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น :-

                        กวน      =          ก          +              อัว        +              
                        พวก      =          พ          +              อัว        +              
                        รวบ       =          ร           +              อัว        +              
                        สวย      =          ส          +              อัว        +              
                        ควง      =          ค          +              อัว        +              
                        นวด      =          น          +              อัว        +              
                        สวม      =          ส          +              อัว        +              

            ๓.  แปลงรูป  คือแปลงหันอากาศเป็นตัว    ทำนองเดียวกับอักษรหัน  แต่ต่างกันที่ไม่มีตัวสะกด เช่น :-

                        หวว      =              หัว
                        ย่วว       =              ยั่ว
                        ตวว      =              ตัว
                        รวว       =              รัว
                                    ฯลฯ

            วิธีนี้นิยมเขียนแต่ในสมัยโบราณเท่านั้น  ปัจจุบันนี้ไม่นิยมใช้  การที่ท่านแปลงหันอากาศ  ที่สระ  อัว  มาเป็นตัว  ว  นี้  คงจะถือหลักแปลงวสรรชนีย์เป็นอักษรหัน  ซึ่งตามปกติจะต้องมีตัวสะกด,  เฉพาะสระ  “อัว”  โบราณท่านอาจจะถือว่าตัว  “ว”  เป็นตัวสะกด  เพราะเสียงอัวนี้ท่านจัดไว้ในแม่  เกย  ด้วย  ยิ่งกว่านั้นบางทีท่านเขียนเป็น  หวัว  ตวัว  รวัว  ฯลฯ  ด้วยซ้ำไป  และคงอ่านว่า  หัว  ตัว  รัว  เช่นเดียวกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น