สระออ

สระออ
            สระ ออ  มีวิธีใช้ดังนี้ :-
            ๑.  คงรูป  คือต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วยเสมอ  สำหรับการใช้กับคำไทยและคำในภาษาอื่นที่เรานำมาใช้ในภาษาไทย  (ยกเว้นคำบาลีสันสกฤตและคำไทยบางคำ)  เช่น :-  ขอ  พอ  พ่อ  หลอ  ขอน  คลอง  นอก  กอด  ตอบ  คอย  นอต  คอกเทล  ออกซิเจน  ฯลฯ
            ๒.  ลดรูป  คือตัดตัว    ออกเสียง  แต่คงอ่านเหมือนมีตัว    กำกับอยู่ด้วย ได้แก่ :-
                        ก.  คำไทยบางคำ คือ  บ  และ บ่  ที่แปลว่า  ไม่  แต่ถ้า  บอ  ที่แปลว่า  เกือบบ้า,  หรือ  บ่อ  ที่แปลว่า  หลุม  ต้องมีตัว    อยู่ด้วย ,  จระเข้  ที่แปลว่า  สัตว์น้ำชนิดหนึ่ง,  บโทน  ที่แปลว่าตำรวจชั้นขุนหมื่น
                        ข.  คำบาลีสันสกฤตและคำในภาษาอื่นบางคำที่ใช้    เป็นตัวสะกด  เช่น :-  กร  พร  จร  สมร  ขจร  ละคร ฯลฯ
                        ค.  คาบาลีและสันสกฤต  ที่พยางค์หน้าเป็น    แต่แผลงเป็น    เช่น :-  บดี  บพิตร  บรม  บรมัตถ์  บวร  บริการ  บริขาร  บริกรรม  บริจาค  บริบูรณ์  บริโภค  บริวาร  บริเวณ  บริภาษ  บริษัท  บริสุทธิ์
                        ง.  คำบาลีและสันสกฤตบางคำที่ออกเสียงตัว  จ  ท  ธ  น  ม  ว  ศ  ษ  ส  ห  อ  และมีตัว    ตามหลังพยัญชนะเหล่านั้น  เช่น :-

            จ  :          จรดล  จรลี  จรลู่  จรล่ำ  จรล่อง  จรหลีก
            ท  :       ทรพา  ทรพี  ทรกรรม  ทรชน  ทรชาติ  ทรธึก  ทรพิษ  ทรภาค  ทรยุค  ทรยศ  ทรลักษณ์  ทรหน  ทรหึง  ทรหู
            ธ  :       ธรณี  ธรมาน  ธรมาธิกรณ์
            น  :       นรชน  นรชาติ  นรการ  นรเทพ  นรนาถ  นรราช  นรเศรษฐ์  นรสิงห์
            ม  :       มรคา  มรฑป  มรณะ  มรดก
            ว  :        วรกาย  วรวรรณ  วรโฉม  วรลักษณ์
            ศ  :       อศรพิษ
            ษ  :       อักษรลักษณ์  อักษรเลข  อักษรศาสตร์
            ส  :       สรลักษณ์  สรสิทธิ์
            ห  :       หรดาล  หรดี  หรคุณ  มหรสพ
            อ  :       อรชุน  อรพินท์  อรสุม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น