สระไอ ไม้มลาย (มลาย-เหยียด,คลี่ออก)

สระไอ  ไม้มลาย  (มลาย-เหยียด,  คลี่ออก)
            นอกจาก  ๒๐  คำที่บังคับให้ใช้ไม้ม้วนแล้ว  บรรดาคำไทยที่ออกเสียง  “ไอ”  ให้ใช้สระไอ  (ไม้มลาย)  ทั้งสิ้น  แม้แต่คำที่มาจากภาษาอื่น  ก็ให้ใช้ไม้มลายเช่นเดียวกัน  เช่น :-  ไปไหน  ไวไฟไยไพ  ไจไหม  เบาได๋  กุบไลข่าน  ยวนชีไข  ซามูไร  แอสไพริน  ไวตามิน  ไมโครโฟน  ไทฟอยด์  ไหหลำ  ไต้ฝุ่น  ไทเป  ฯลฯ 
            ส่วนคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต  พยางค์ที่ออกเสียง  “ไอ”  มีวิธีเขียนได้ถึง  ๔  ชนิด  คือ  ไอ  ไอย  อัย  อัยย  มีหลักสังเกตดังนี้ :-

            ไ  อ  (ไม้มลาย) 
                        ก.  ใช้เขียนคำมาจากสันสกฤต  ซึ่งเดิมก็เป็นสระไออยู่แล้ว  เช่น :- 
            ไอศวรรย์            เดิมเป็น             ไอศฺวรฺย             ไพรี                   เดิมเป็น             ไวรี
            ไพโรจน์             ”                       ไวโรจฺน              ไพศาล              ”                       ไวศาล
            ไพศาลี              ”                       ไวศาลี               ไมตรี                 ”                       ไม่ตฺรี
            ไศล                  ”                       ไศล                  ไกลาส               ”                       ไกลาส
            ไอราวัณ ”                       ไอราวณ ฯลฯ

                        ข.  ใช้เขียนคำที่มาจากบาลีและสันสกฤต  ซึ่งคำเดิมเป็นสระ  อิ  อี  เอ  แล้วแผลงมาเป็นสระไอ  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น :-
            ไพจิตร               เดิมป็น              วิจิตร
            ไพหาร               ”                       วิหาร
            ไกรสร                ”                       เกสร
            ไอราวดี              ”                       อิราวดี
            ไวที                   ”                       เวที
                                    ฯลฯ

            ไอย  (ไม้มลาย)  มี  “ย”  ตาม)  ใช้เขียนคำที่มาจากบาลีหรือสันสกฤต
            ถ้ามาจากบาลี  คำเดิมเป็น  “เอยฺย”  (เอยฺ-ยะ)  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทยเราแผลง  “เอ”  เป็น  “ไอ”  แล้วตัดตัว  “ย”  ออกตัวหนึ่ง  จึงมีรูปในภาษาไทยเป็น  “ไอย”  เช่น :-

            ไชย                   เดิมเป็น             เชยฺย
            โภไคย               ”                       โภเคยฺย
            ภูวไนย               ”                       ภูวเนยฺย
            อาชาไนย           ”                       อาชาเนยฺย

            ถ้ามาจากสันสกฤต  คำเดิมเป็น  “เอย”  (เอ-ยะ)  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เราแผลง  “เอ”  เป็น  “ไอ”  จึงมีรูปในภาษาไทยเป็น  “ไอย”  เช่น :-

                ภาคิไนย            เดิมเป็น             ภาคิเนย
            อุปไมย              ”                       อุปเมย
                                    ฯลฯ

            หมายเหตุ  :-  มีคำอยู่ ๒  คำซึ่งเดิมมิใช่  “เอยฺย”  หรือ  “เอย”  แต่เราเขียนเป็น  “ไอย”  คล้ายกับว่ามาจาก  “เอยฺย”  หรือ  “เอย”  ได้แก่คำไทย  กับ  ไอยรา
            คำ  “ไทย”  นั้น  เดิมเป็น  “ไท”  เหตุที่มีตัว  “ย”  ติดอยู่ข้างหลังก็เนื่องจากพระท่านนำเอาคำ “ไท”  ไปแต่งเป็นภาษาบาลี  แต่ภาษาบาลีไม่มีสระ  “ไอ”  ท่านจึงแปลงสระ “ไอ”  ของไทยเป็น  “เอยฺย”  และเขียนว่า  “เทยฺย”  เพื่อให้เข้าหลักภาษาบาลี  ครั้นเขียนกลับมาเป็นภาษาไทยกลายเป็น  “ไทย”  ตามวิธี  “ลากคำเข้าวัด”  ของคนโบราณ
            ส่วนคำ  “ไอยรา”  นั้นมาจากคำเดิมของสันสกฤตว่า  “ไอราวณ”  หรือที่ไทยเราใช้เต็มคำว่า  “ไอราวัณ”  เมื่อนำไปใช้ในบทประพันธ์  บางทีพยางค์ยาวเกินกว่ากำหนดของคำประพันธ์ชนิดนั้นๆ จึงตัดพยางค์ให้สั้นลงเหลือแต่เพียง  “ไอรา”  แล้วต่อมาก็แทรกตัว  “ย”  เติมเข้าไปจึงเป็น “ไอยรา” 
            วิธีตัดคำให้สั้นเช่นนี้  ไทยเราใช้มากเช่น :-

                        พารา                 ตัดมาจาก          พาราณสี
                        อักโข                        ”                อักโขภิณี
                        เณร                         ”                สามเณร
                        โนรา                        ”                มโนหรา
                        โบสถ์                       ”                อุโบสถ
                                                ฯลฯ

            อัย  (หันอากาศ  ย  สะกด)  ใช้เขียนคำที่มาจากบาลี  และสันสกฤต  ซึ่งเดิมออกเสียงเป็น  ๒  พยางค์  คือ  “อย”  อ่านว่า  อะยะ  เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย  เราใช้ตัว “ย”  เป็นตัวสะกดจึงออกเสียงแต่เพียงพยางค์เดียวว่า  “อัย”  เพราะฉะนั้น  คำที่มี  หันอากาศตัว   สะกดซึ่งมาจากบาลีและสันสกฤต  เช่น  ขัย,  วัย,  ฯลฯ  ถ้ามีคำอื่นประสมข้างหลัง  ต้องอ่านออกเสียงตัว    ด้วยเสมอ  เพราะคำเดิมเขาออกเสียงอยู่แล้ว  คำเหล่านี้มีใช้ในภาษาไทยมาก  เช่น :-

            ขัย        เดิมเป็น                         ขย                                ชัย          เดิมเป็น                      ชย
            หทัย           ”                             หทย                             นิสัย           ”                              นิสฺสย
            เมรัย          ”                              เมรย                             วินิจฉัย       ”                              วินิจฺฉย
            หัย             ”                              หย                               อาลัย         ”                              อาลย
            อภัย           ”                              อภย                             กษัย           ”                              กษย
            ดนัย           ”                              ตนย                            นัยนา          ”                              นยน
            ปัจจัย         ”                              ปจฺจย                           วินัย            ”                              วินย
            วัย             ”                              วย                                อนามัย        ”                              อนามย
            อาศัย         ”                              อาศย                            อุทัย            ”                              อุทย
                                                                        ฯลฯ

            อัยย  (หันอากาศ  ย  สะกด  และมี  ย  ตาม)  อ่านว่า  อัย-ยะ  ฝช้เขียนคำที่มาจากบาลี  และสันสกฤต  แต่มีหลักอยู่ว่า  ถ้า    ตัวหลังไม่มีรูปสระหรือตัวสะกด  (ดูอักษรซ้ำ-อักษรซ้อน)  ให้ตัด    ออกเสียตัวหนึ่ง  ถ้ามีรูปสระหรือตัวสะกดกำกับอยู่ด้วย  ให้คงตัว    ไว้ทั้ง  ๒  ตัว  เช่น :-

                        ปัยกา                เดิมเป็น             ปยฺยก
                        อัยกี                       ”                              อยฺยกี
                        อัยกา                     ”                              อยฺยก
                        อัยยะ                     ”                              อัยย

            อัย  ที่มาจาก  อัยย  จะต้องมีพยางค์หลังตามมาอีกหนึ่งพยางค์  และต้องออกเสียงตัว  ย  ที่เป็นตัวสะกดเสมอ  แต่ถ้าไม่ตัวตัว    ออก  (คงไว้ทั้ง  ๒  ตัว)  ไม่ต้องออกเสียงตัว    ซึ่งเป็นตัวสะกด  เช่น  อัยยะ  =  พระผู้เป็นเจ้า,  นาย  (ออกเสียงเป็น  อัย-ยะ  ไม่ใช่  อัย-ยะ-ยะ)


            สระบางตัวที่มิได้อธิบายไว้ในที่นี้  คงใช้ตามปรกติ  ไม่มีวิธีพลิกแพลงอย่างไร  แม้บางตัวจะเปลี่ยนแปลงได้ในเมื่อมีตัวสะกด  เช่น  สระเอียะ,  เอือะ  แต่ก็ไม่สำเนียงที่จะใช้เขียนในภาษาไทยจึงมิได้อธิบายไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น