วันอังคารที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การใช้สระ ให้ถูกต้อง

การใช้สระ





                สระต่างๆ ที่เราเปล่งเสียงออกมาทางภาษาพูด  ย่อมไม่มีพลิกแพลงอย่างไร  เพียงแต่ลั่นสำเนียงให้ชัดเจนเป็นที่รู้กันได้ก็นับว่าพอแก่ความต้องการในทางภาษาแล้ว  แต่ในภาษาหนังสือ  ต้องการความหมายแสดงประจักษ์ทางตาเป็นที่สำคัญ  เพราะฉะนั้นจึงมีระเบียบและวิธีเขียนที่ต้องอาศัยหลักเกณฑ์ละเอียดกว่าภาษาพูด  เพราะนอกจากจะเป็นเครื่องหมายให้รู้ทางตาแล้ว  ยังต้องใช้เป็นเครื่องหมายนำในการออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจนด้วย  ผู้ศึกษาจึงจำเป็นต้องรู้หลักการใช้และการเขียนให้เหมาะสมกับยุคสมัยที่ภาษาได้เจริญก้าวหน้าไปตามจังหวะของมัน  เพราะฉะนั้นการการใช้และการเขียนจึงมักมีการเปลี่ยนแปรแก้ไขได้เป็นครั้งคราวแต่มีหลักสังเกตในเบื้องต้น  คือบรรดาสระในภาษาไทย  (ยกเว้น  ฤ  ฤๅ  ฦ  ฦๅ)  จะใช้เขียนตามลำพังไม่ได้ต้องใช้คู่กับพยัญชนะเสมอ  แม้สระที่เราต้องการจะใช้โดดๆ ซึ่งเรียกว่าสระลอยจะต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วยเสมอ  เช่นคำว่า  อิน  อุ่น  อ่าน  จะเขียนแต่สระไม่ได้เพราะในวลีหรือประโยคเดียวกันเราเขียนคำติดต่อเป็นพืดเดียวกัน  ไม่มีเว้นวรรคเป็นคำๆ  เหมือนภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาตระกูลยุโรป  ถ้าไม่มีตัว  กำกับอยู่ด้วย  ก็จะทำให้สระลอยเหล่านั้นไปติดกับตัวพยัญชนะที่มาข้างหน้า   ทำให้เกิดความฉงนในการอ่าน  เช่น  นอน  ่าน  (นอนอ่าน)  ถ้าเขียนติดกันก็จะเป็น  นอน่าน  ไป  เพราะฉะนั้นการเขียนรูปสระที่ติดตามลำพังจึงต้องมีตัว    กำกับอยู่ด้วย  ต่อไปนี้จะได้อธิบายหลักเกณฑ์การใช้สระบางตัวที่มีเสียงซ้ำกันแต่มีรูปต่างกัน  หรือมีวิธีเขียนที่จำต้องกำหนดพิเศษ  ส่วนสระที่เขียนตามปกติ  ไม่มีวิธีพลิกแพลงอย่างไรจะไม่อธิบายไว้ในที่นี้
  




ที่มา  :  กำชัย  ทองหล่อ. (๒๕๕๔). หลักภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพฯ รวทสาส์น